ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะเขือพวง , มะแคว้ง
มะเขือพวง , มะแคว้ง
Solanum torvum Sw.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Solanaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
 
  ชื่อไทย มะเขือพวง , มะแคว้ง
 
  ชื่อท้องถิ่น มะแห้งคง(ไทใหญ่), เล่นโท(ขมุ), มะเขือพวง(คนเมือง), เบล่สะกร่าง(ปะหล่อง), บะแคว้งกุลา(คนเมือง), เคเส่(กะเหรี่ยงแดง), แพละแขว้ง,ลำแผละแคว้ง,เปี๊ยะโด่ล(ลั้วะ), ยิ่มเปียว(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ มะเขือพวงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นมีหนามสั้นทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขามาก
 
  ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-20 ซม. ยาว 7-25 ซม. ปลายใบแหลม โคนมน มีขนนุ่มปกคลุมทั้ง 2 ด้าน
 
  ดอก ช่อดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก ติดคงทน กลีบดอก สีขาว 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปดาว
 
  ผล ผลกลุ่มออกเป็นช่อ ผลย่อยรูปทรงกลม ภายในมีเมล็ดกลมแบนจำนวนมาก
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ต้มจิ้มกินกับน้ำพริก(เมี่ยน)
ผล ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง น้ำพริก(คนเมือง,เมี่ยน,ไทใหญ่,ลั้วะ,กะเหรี่ยงแดง)
ผล เป็นส่วนประกอบในแกงผักกาด และน้ำพริก(ปะหล่อง)
- ราก ต้มกับน้ำ 3 แก้วให้เหลือ 1 แก้ว รักษาอาการตกขาวในผู้หญิง(ไทใหญ่)
- ลำต้น เผาเป็นถ่านแล้วใช้ตำผสมดินปืน(ขมุ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในพื้นที่รกร้าง บนไหล่เขาหรือกลางแจ้ง เป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง